มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
7/11/59
สวัสดีค่ะ ตามสัญญาวันนี้เรามาเรียนรู้เรื่องศีลข้อ4กันค่ะ
มุสา แปลว่า เท็จ ไม่จริง
วาท แปลว่า วาจา คำพูด ซึ่งส่วนใหญ่คนมักโกหกกันทางคำพูด ทว่าการแสดงออกทางกายก็ถือว่าใช่เช่นเดียวกัน
ทางกาย เช่น การเขียนจดหมายเท็จ การพิมพ์ข่าวเท็จ การทำหลักฐานปลอม การทำเครื่องหมายซึ่งทำให้คนหลงเชื่อ การสั่นศีรษะ การพยักหน้า เป็นต้น
ศีลข้อที่4นี้ครอบคลุมถึงสิ่งใดบ้าง
1.การโกหก
2.การพูดส่อเสียด
3.การพูดคำหยาบ
4.การพูดเพ้อเจ้อ
การโกหก คือความไม่จริง เป็นเท็จมีทั้งหมด 7 ลักษณะ ได้แก่
1.การปด
โกหกชัดๆ รู้ว่าไม่รู้ เห็นว่าไม่เห็น
ไม่มีว่ามี
2.การสาบาน เพื่อให้คนอื่นหลงเชื่อว่าตนไม่เป็นเช่นนั้น
หรือการสาบานในการเป็นพยานว่าจะพูดเรื่องจริง แต่จริงๆแล้วไม่จริง
3.การทำเล่ห์ การอวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์ เช่นใบ้หวยโดยไม่รู้จริง
4.มายา คือการแสดงอาการหลอกทำให้เขาเข้าใจผิดจากความจริง เจ็บน้อยบอกว่าเจ็บมาก
ไม่เจ็บทำเป็นเจ็บ
5.ทำเลศ จริงๆไม่อยากพูดเท็จ เล่นสำนวนให้คนฟังคิดผิดไปเอง พูดคลุมเครือ เล่นสำนวน
เช่น เห็นโจรวิ่งราว อยากช่วยปกปิด เลยย้ายที่ยืน พอคนมาถามก็บอกว่า
อยู่ที่นี่ไม่เห็น
6.เสริมความ การอาศัยมูลเดิม เรื่องจริงมีนิดเดียว แต่เสริมเติมแต่งขยายความ
เช่นการโฆษณาเกินความจริง
7.อำความเรื่องใหญ่ แต่พูดตัดความให้เป็นเรื่องเล็ก
ปิดบังในส่วนที่ควรบอกหรือรู้แต่ไม่รายงานให้เจ้าหน้าที่ทราบ
การพูดส่อเสียด(ปิสุณวาจา) คือ พูดแล้วทำให้เขาเสื่อมจากเกรียติยศชื่อเสียง การนำเรื่องเสื่อมเสียของคนหนึ่งไปบอกคนหนึ่ง การพูดยุยงให้คนเขาแตกกัน ทำได้ทั้งทางวาจา ทางกาย เช่น เขียนข่าวยุแหย่ให้คนเขาเสื่อมเสีย ให้คนรักกัน เกลียดกันขึ้นมาได้ การพูดกระทบกระแทกแดกดัน ให้ผู้อื่นเจ็บใจ ให้เขาเสียใจ
การพูดคำหยาบ(ผรุสวาท) ได้แก่ การด่า การแช่ง ด้วยวาจาหรือทางกาย(การเขียนด่า การทำท่าทาง) ด้วยอาการโกรธเคือง ด้วยใจร้อนรุ่ม ทำเพราะโกรธเคือง เป็นคำที่ฟังแล้วไม่สบายใจ รู้สึกเจ็บแค้น คำหยาบ คำด่านั้นแม้ว่าคนถูกด่าจะอยู่ต่อหน้า ลับหลัง หรือแม้กระทั่งตายไปแล้ว ก็ถือว่าเป็นการอกุศลกรรมบท แม้จะเป็นเรื่องจริงก็ไม่ได้ถือเป็นบาปที่ฉุดคร่าผู้กล่าวให้ไปสู่อบายได้เช่นกัน
การพูดเพ้อเจ้อ(สัมผัปปลาปะ) คือ คนที่พูดเก่งคุยสนุก แสดงออกอย่างสนุกสนาน ทว่าการพูดนั้นไม่มีสาระแก่นสารในการเป็นคุณผู้อื่นและสังคม ฟังแล้วสนุกแต่ปนด้วยโมหะ หมดเวลาเป็นวันๆ เสียเวลาไปเปล่า คำพูดที่ฟังแล้วสนุกสนาน ที่มัน ที่สะใจในอารมณ์ มักมีการพูดล้อเล่นล้อเลียนผู้อื่นปนอยู่เสมอ เป็นการพูดทำลายประโยชน์ หรือการเล่าเรื่องหนัง นิยาย การแสดงตลก เขียนเรื่องอ่านเล่นที่เป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ ไม่ก่อประโยชน์ให้ผู้ดู ผู้ฟังผู้อ่าน
ทว่าการพูดเหลวไหล ไม่จัดเป็นมุสาวาทเพราะผู้พูดไม่ได้เจตนาจะโกหก ทว่าหากมีความตั้งใจจะมุสาปนอยู่ด้วย และผู้ฟังก็หลงเชื่อ ก็มีผลทำให้ไปเกิดในอบาย แต่ถึงอย่างไรแม้จะล้อเล่น แต่ยังมีวิบากกรรม ทำให้เกิดใช้กรรมในการล้อเลียน
เมื่อเรารู้ถึงลักษณะที่ควรงดเว้นในศีลข้อนี้แล้ว เราก็มาดูว่า ครงองค์ประกอบของการผิดศีลหรือไม่
องค์ประกอบการผิดศีลข้อ 4
1.เรื่องที่นำมาแสดงนั้นเป็นเรื่องไม่จริง(เข้าลักษณะ1-7ข้างต้น)
2.มีจิตคิดจะพูดเท็จ
3.กระทำการพูดเท็จ หรือ แสดงอาการทางกายทำให้ผู้อื่นเข้าใจความหมาย
4.ผู้รับสารเชื่อฟังตามเนื้อหาอันเป็นเท็จนั้น
หากครบทั้ง4ข้อ ก็ถือว่าผิดศีลขาดทันที แต่ในส่วนของกรณีพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยู่ในอนุโลมมุสา ทำให้ศีลด่างพร้อย
ต่อมาเรามาดูเรื่องโทษของเรื่องนี้กัน
แน่นอนว่าจะมากน้อยนั้นขึ้นอยู่แต่ละกรณี เรามาดูหลักเกณฑ์กัน
1.ความเสียหายเกิดขึ้น
2.เจตนาจะทำให้ผู้อื่นเสียหาย
3.คุณธรรมของผู้เสียหาย
กล่าวคือ ถ้าเกิดความเสียหายมากผิดมาก มีเจตนา มีความพยายามมากน้อยเพียงไร คุณธรรมของผู้เสียหายมากก็ผิดมาก เช่นผู้ทรงศีล เป็นต้น
อนุโลมมุสา
ทำให้ศีลด่างพล้อย เรื่องที่กล่าวไม่เป็นความจริง แต่ไม่ได้ต้องการให้ผ฿ฟังเข้าใจผิด
1.พูดเสียดแทง กระทบกระแทกแดกดัน พูดให้ผู้อื่นเจ็บใจ
2.พูดประชด ยกให้เกินความจริง
3.พูดด่า กดให้ต่ำกว่าคงวามเป็นจริง
4.พูดสับปลับ แต่ไม่ตั้งใจให้เข้าใจผิด
5.พูดคำหยาบ ต่ำทราม
6.พูดคะนองวาจา
ส่วนส่วนอีกอย่าง แรกคิดจะทำตามรับปาก แต่ตอนหลังไม่ทำ เรียกว่า ปฏิสสวะ รับแล้วไม่ทำ ผลทำให้เสียชื่อเสียง
1.ผิดสัญญา สองฝ่ายสัญยาว่าจะทำเช่นนั้น
2.เสียสัตย์ คือให้สัตย์ฝ่ายเดียวว่าตนเองจะทำเช่นนี้ แต่ไม่ทำ
3.คืนคำ โดยรับปากว่าจะทำ โดยมีสัญญาว่าตนจะทำ ภายหลังไม่ได้ทำ
ยถาสัญญา
พูดตามที่ได้ยินได้ฟังมาหรือเข้าใจว่าเป็นเรื่องจริง
1 โวหาร พูดตามสำนวนโลก เช่นคำลงท้ายจดหมาย ด้วยความเข้ารบอย่างสูง
2.นิยาย ลิเก ละคร แม้ไม่จริง แต่ไม่เป็นมุสาวาท
3.สำคัญผิด พูดด้วยเข้าใจว่าถูกต้อง ทั้งๆที่เรื่องนั้นไม่จริงเช่นจำวันผิด
4.พลั้ง พูดพลั้งเผลอโดยไม่ได้ตั้งใจให้ผิดพลาด
ผู้ที่ผิดศีลข้อ4 บ่อยๆ เริ่มจากมหานรกขุม 4 โรรุวมหานรก
โรรุวมหานรก หมายถึง มหานรกที่เต็มไปด้วยเสียงร้องระงมครวญครางอย่างน่าเวทนา
นรกขุมนี้ เป็นนรกขุมที่ 4 อยู่ถัดลงมาจากสังฆาฏมหานรก
มีขนาดใหญ่กว่าสังฆาฏมหานรก ชีวิตในโรรุวมหานรก
สัตว์นรกขุมนี้ต้องรับทุกขเวทนาในดอกบัวเหล็ก โดยวิธีที่แปลกประหลาด คือ
ต้องนอนคว่ำหน้าอยู่กลางดอกบัวเหล็กอันโตใหญ่ ศีรษะมิดเข้าไปในดอกบัวแค่คาง
ปลายเท้าจมมิดเข้าไปในดอกบัวเหล็กแค่ข้อเท้า มือทั้งสองข้าง
ก็กางจมมิดเข้าไปในดอกบัวเหล็กแค่ข้อมือ
นอนคว่ำหน้าอยู่ด้วยอาการพิลึกพิกลเช่นนั้น เปลวไฟก็ปรากฏขึ้น
เผาไหม้ดอกบัวเหล็กพร้อมกับสัตว์นรกเหล่านั้น เปลวไฟแลบเข้าหูซ้ายออกหูขวา
แลบเข้าหูขวาออกหูซ้าย เข้าปาก ตา จมูก
สัตว์นรกได้แต่ร้องครวญครางเสียงสนั่นหวั่นไหวอื้ออึง จะตายก็ไม่ตาย
มีกายลำบากอย่างแสนสาหัส ต้องทนทุกขเวทนาอยู่อย่างนี้
จนกว่าจะถึงอายุขัยตายไปจากนรกขุมนี้ เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบ พูดโกหก พูดคำหยาบ
พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ มีวจีกรรมชั่วหยาบเป็นส่วนมาก
โดยมีอายุขัยของโรรุวมหานรกเท่ากับ 4,000 ปีนรก
วันหนึ่งคืนหนึ่งในมหานรกขุมนี้ เมื่อเทียบกับเวลาในมนุษยโลกแล้ว เท่ากับ 576
ล้านปีของมนุษยโลก ถ้า 4,000 ปีนรก
ก็เท่ากับ 829,440,000 ล้านปีในเมืองมนุษย์(www.dmc.tv) พอหมดกรรมก็ไปสู่อสุทนารก
มหานรกขุม 4 ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก dmc.tv |
อสุทนารก นรกที่เป็นขุมบริวาร
เราเรียกลักษณะของอุสสทนรกว่า ขุมเช่นเดียวกับมหานรก อุสสทนรกมีขนาดเล็กกว่ามหานรก และ
การทัณฑ์ทรมานก็เบาบางกว่า มีความทุกข์น้อยกว่า
ไฟนรกก็ร้อนแรงน้อยกว่ามหานรก และยังพอมีเวลาว่างเว้นจากการทัณฑ์ทรมานบ้างเล็กน้อย (www.dmc.tv)
ผลกรรม แวกว่ายในน้ำครูดกรด
เมื่อว่ายถึงอีกฝั่ง เจอนกอีกาปากเหล็ก ก็โทษถ่ายกด ตายเกิดวนเวียนอีกยาวนาน
เมื่อหมดกรรมก็ไปสู่ยมโลก
ยมโลก ยมโลกมีความพิเศษที่หลากหลายกว่ามหานรกและอุสสทนรก
เพราะเป็นสถานที่วินิจฉัยบุญบาปของสัตว์นรก และลงโทษสัตว์นรกที่มาจากมหานรก
ผ่านอุสสทนรกมายังยมโลก
นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ตัดสินบุญบาปของผู้ที่ตายจากเมืองมนุษย์
ที่มีลักษณะของใจที่ไม่หมองไม่ใสอีกด้วย เมื่อตัดสินแล้วก็จะส่งไปตามภพภูมิต่างๆ
เช่น ไปเป็นสัตว์เดียรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์นรก หรือชาวสวรรค์ เป็นต้น
ซึ่งขึ้นอยู่กับกุศลกรรมและอกุศลกรรมของกายละเอียดเหล่านั้น
ยมโลกทำหน้าที่คล้ายกับศาลในเมืองมนุษย์ เราอาจจะถือว่ายมโลกเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อระหว่างภพมนุษย์กับภูมิอื่นๆ ก็ได้ เพราะเป็นที่รองรับสัตว์นรกที่มาจากมหานรก และรองรับกายละเอียดที่ตายจากเมืองมนุษย์ เพื่อมาตัดสินบุญบาปแล้วส่งไปเกิดในภพภูมิต่างๆ ดังกล่าว ยมโลกมีรายละเอียดมากกว่ามหานรกและอุสสทนรก
ยมโลกทำหน้าที่คล้ายกับศาลในเมืองมนุษย์ เราอาจจะถือว่ายมโลกเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อระหว่างภพมนุษย์กับภูมิอื่นๆ ก็ได้ เพราะเป็นที่รองรับสัตว์นรกที่มาจากมหานรก และรองรับกายละเอียดที่ตายจากเมืองมนุษย์ เพื่อมาตัดสินบุญบาปแล้วส่งไปเกิดในภพภูมิต่างๆ ดังกล่าว ยมโลกมีรายละเอียดมากกว่ามหานรกและอุสสทนรก
มโลก ของผู้มีจิตไม่หมองไม่ใส(www.dmc.tv)
ผลกรรม ถูกโยนในบ่อครูดกรดร้อน ถ้าหนีใช้หอกแทงเมื่อหนี
หากเมื่อครั้งเป็นมนุษย์โกหกบิดเบียนไว้ ก็จะมีร่างกายบิดเบี้ยวออกมา เมื่อ
หมดกรรม ก็ไปเกิดเป็น แมลงที่อาศัยอยู่ในกองคูด อยู่ในถังส้วม เป็นหนอน แมลงสาบ
เป็นสัตว์ที่กินครูด เป็นสนุขขี้เรื้อนด้วยวิบากกรรมที่ทำให้เขาร้อนรน เมื่อมาเป็นมนุษย์ ฟันจะเหยิน ฟันเก ถูกใส่ร้าย ทำให้ชีวิตไม่มีความสุข
ฝากเรื่องอีกประเด็นหนึ่งเพราะเราอยู่ในโลกของโซเซียล โลกอินเตอร์เน็ต การเขียน การพิมพ์หากเป็นเรื่องไม่จริง ทำให้เขาเสื่อมเสียก็ทำให้ผิดศีลเช่นกัน หรือแม้แต่การไปแสดงความเห็น ใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย ล่วงเกินผู้อื่น ที่สำคัญมันไปอย่างรวดเร็วกว้างขวาง มีคนแชร์เยอะแยะ มันยิ่งกว่าสมัยก่อน ที่พูดเพียงสิ่งเดียวคนรับข่าวสารน้อย แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยนี้ทำให้คนรู้กว้างขึ้น เร็วขึ้น ผลที่ตามมาก็มากขึ้นด้วย อินเตอร์เน็ตมีคุณมาก แต่ก็มีโทษมากเช่นกันหากนำไปใช้ในทางที่ผิด...
ฝากไว้ด้วยนะคะ หากข้อมูลผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณที่นี้ด้วยนะคะ
Q: โกหกเพื่อความสบายใจ ผิดหรือไม่?
คำตอบคือ ผิดค่ะ เพราะเป็นคำที่ไม่จริง แต่พูดออกมา โกหกก็คือโกหก มันผิดอยู่แล้ว คนที่ชอบอ้างว่าเพื่อความสบายของอีกฝ่ายนั้นเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งตนเองไม่สามารถจัดการชีวิตของตนได้อย่างถูกต้องและรอบคอบ จึงต้องโกหก ปกติแล้วคนเราไม่จำเป็นที่จะต้องไปโกหกใคร แต่ที่ต้องโกหกเพราะมีเรื่องที่ไม่ถูกต้องแอบแฝงอยู่แน่ๆ
Q: แล้วเราควรจะพูดอย่างไรล่ะ ไม่ให้ผิดศีลและเป็นการพูดที่ถูกต้อง?
คนพูดเป็น คือคนที่คิดให้รอบคอบ มีสติก่อนพูด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักไว้ 5 ประการ
1.พูดด้วยจิตเมตตา ก่อนจะพูดให้นึกเสียก่อนว่าเราปราถนาดีต่อคนฟังหรือไม่ ถ้าร้ายก็อย่าพูด
2.พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ แม้มีความปราถนาดี แต่พูดไปแล้วถ้าไม่เป็นประโยชน์ต่อคนฟังก็อย่าพูด อาจจะเป็นการพูดเพ้อเจ้อได้
3.พูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ ถึงแม้ว่าจะเป็นประโยชน์แต่ถ้าเต็มไปด้วยคำหยาบคาย ก็ไม่มีใครอยากฟัง ไม่มีใครอยากทำตาม ฉะนั้นพูดสิ่งที่ไพเราะดีกว่า
4.พูดความจริง
5.พูดถูกกาลเทศะ ก่อนพูดต้องดูกาลเทศะให้ดี เพราะหากไม่ถูกจังหวะอาจโดนเกลียดชัง หรืออาจตายได้เช่น เตือนคนต่อหน้าธารกำนัล(ฉีกหน้ากันชัดๆ)
การพูดไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าไม่รู้ว่าควรพูดอย่างไร นิ่งเสียดีกว่า....
สุดท้ายขอบคุณทุกข้อมูลที่เราได้ค้นคว้า ถ้าผิดพลาดประการใดก็ให้อภัยกันนะคะ แล้วเจอกัน กับศีลข้อ1 อาทิตย์หน้าค่ะ...
Q: โกหกเพื่อความสบายใจ ผิดหรือไม่?
คำตอบคือ ผิดค่ะ เพราะเป็นคำที่ไม่จริง แต่พูดออกมา โกหกก็คือโกหก มันผิดอยู่แล้ว คนที่ชอบอ้างว่าเพื่อความสบายของอีกฝ่ายนั้นเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งตนเองไม่สามารถจัดการชีวิตของตนได้อย่างถูกต้องและรอบคอบ จึงต้องโกหก ปกติแล้วคนเราไม่จำเป็นที่จะต้องไปโกหกใคร แต่ที่ต้องโกหกเพราะมีเรื่องที่ไม่ถูกต้องแอบแฝงอยู่แน่ๆ
Q: แล้วเราควรจะพูดอย่างไรล่ะ ไม่ให้ผิดศีลและเป็นการพูดที่ถูกต้อง?
คนพูดเป็น คือคนที่คิดให้รอบคอบ มีสติก่อนพูด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักไว้ 5 ประการ
1.พูดด้วยจิตเมตตา ก่อนจะพูดให้นึกเสียก่อนว่าเราปราถนาดีต่อคนฟังหรือไม่ ถ้าร้ายก็อย่าพูด
2.พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ แม้มีความปราถนาดี แต่พูดไปแล้วถ้าไม่เป็นประโยชน์ต่อคนฟังก็อย่าพูด อาจจะเป็นการพูดเพ้อเจ้อได้
3.พูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ ถึงแม้ว่าจะเป็นประโยชน์แต่ถ้าเต็มไปด้วยคำหยาบคาย ก็ไม่มีใครอยากฟัง ไม่มีใครอยากทำตาม ฉะนั้นพูดสิ่งที่ไพเราะดีกว่า
4.พูดความจริง
5.พูดถูกกาลเทศะ ก่อนพูดต้องดูกาลเทศะให้ดี เพราะหากไม่ถูกจังหวะอาจโดนเกลียดชัง หรืออาจตายได้เช่น เตือนคนต่อหน้าธารกำนัล(ฉีกหน้ากันชัดๆ)
การพูดไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าไม่รู้ว่าควรพูดอย่างไร นิ่งเสียดีกว่า....
สุดท้ายขอบคุณทุกข้อมูลที่เราได้ค้นคว้า ถ้าผิดพลาดประการใดก็ให้อภัยกันนะคะ แล้วเจอกัน กับศีลข้อ1 อาทิตย์หน้าค่ะ...
อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=hotVKYVPDm0
https://www.youtube.com/watch?v=q0Z6PHueSUY
พระภาวนาวิริยคุณ.หนังสือหลวงพ่อตอบปัญหา
www.dmc.tv
www.dmc.tv
21.00น.
คำว่ามุสานี่แปลได้ความหมายเยอะเลยนะครับ
ตอบลบกว้างอย่างหาที่สุดแทบ
ไม่ได้